วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 ยุค  5G/6G

  คุณผู้อ่านคงเคยได้ยินคำว่า 5g กันมาบ้าง ซึ่งคำนี้บ่งบอกถึงความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสร้างการสื่อสารที่มีความรวดเร็วในระดับสูง แต่คุณก็อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า 6g กันสักเท่าไหร่นัก ซึ่งเรามาดูกันดีกว่า6g นี้มีความสำคัญกว่า 5g อย่างไรและมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องใดบ้าง


6g ความเร็วเปลี่ยนอนาคต


ก่อนที่คุณจะไปทำความเข้าใจกับความเร็วในระดับ 6g นั้น มาทำความรู้จักกับความสำคัญของระบบ 5g กันก่อนดีกว่า ซึ่งต้องบอกก่อนว่าระบบ 5g นั้น มีการพัฒนามาอย่างก้าวกระโดดมากกว่า มาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นอย่างมาก ความเร็วนั้นของ 5g นั้นเหนือกว่าความเร็วของ 4G เรียกได้ว่าไม่อาจเทียบกันได้เลย โดยความเร็วของ 5g นั้นจะมีความเร็วประมาณ 220Gbps  ซึ่งถ้าเทียบกับ 4G แล้วจะมีความเร็วมากกว่า 100 – 200 เท่า เท่านั้นยังไม่พอความน่าสนใจของ 5g อีกประการหนึ่ง ก็คือ LOW LATENCY RATE  ซึ่งก็คือความเร็วในการตอบสนองต่อข้อมูล ทำให้ผู้ใช้งานสั่งงานพร้อมทั้งควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วฉับไวหรือเรียกได้ว่าแทบจะทันทีทันใดนั้นเดี๋ยวนั้น

แล้วอย่างนี้ 6g ะดีกว่าอย่างไร?

ซึ่งความแตกต่างอันดับ 1 ก็คือในเรื่องของความเร็ว โดยในปัจจุบันนี้ 6g กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา แต่ก็มีการวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าความเร็วของ 6g นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1 TERABIT/วินาที หรือพูดง่ายๆ ก็คือประมาณ 100 เท่าของ 5g และจะมีในเรื่องของ AI เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สำหรับความเร็วในระดับนี้จะทำให้การประมวลผลของ AI เชื่อมต่อการทำงานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความสามารถในการช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้งานได้ทันที ถึงแม้ปัญหานั้นจะมีความซับซ้อนมากก็ตาม ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ในเมือง NEW YORK ประเทศสหรัฐอเมริกาใน 1 วันจะมีรถยนต์จำนวนประมาณ 3 ล้านคันวิ่งเข้าออกในเมืองหลวงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสมองกล AI จะทำการประมวลผล เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาในเรื่องของรถติดจำนวนมหาศาลเลย

6g คือความเร็วแห่งอนาคต

6g คือ เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแห่งโลกอนาคตโดยแท้จริง เพราะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่ได้เองวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้เอง จากการสืบค้นข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยในยุค 6g นั้นจะเป็นยุคที่การสื่อสาร ได้รับการแก้ไขในเรื่องคลื่นรวมทั้งการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาผสมผสาน สำหรับความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือ เมื่อระบบ AI นั้นทำงานผ่าน Application ไปได้สักพักหนึ่ง มันก็จะเริ่มเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น เรียนรู้เรื่องการขับยานพาหนะ, เรียนรู้เรื่องการทำการเกษตรและเมื่อมันสะสมความรู้ได้มากพอหลังจากนั้นก็จะเกิดการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองตามมา

เท่านั้นยังไม่พอระบบ AI ก็จะมีการสั่งการจากการเรียงลำดับของข้อมูลที่ผ่านเข้ามา พร้อมเลือกการตัดสินใจที่มันคิดว่าดีที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมหาศาล และทางระบบก็จะมีการปรับตัวให้เข้ากับการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การขับขี่รถยนต์แบบอัตโนมัติด้วย AI ซึ่งสั่งการให้มันขับในเส้นทางเดิมทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าในวันหนึ่งคุณต้องการที่จะต้องให้มันขับรถออกนอกเส้นทาง คราวนี้ระบบก็จะต้องมีการดึงข้อมูล เพื่อประมวลผลแผนที่พร้อมทั้งคำนวณเส้นทางในการเดินทาง ทำให้เกิดการตัดสินใจในระดับใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้นก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ข้อมูลที่ส่งมานี้จัดเป็นแนวทางในการสร้าง 6g ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงๆ ก็คงจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์และอำนวยความสบายให้ได้มากขึ้นเป็นอย่างมากเลยทีเดียว


  Internet of Things หรือ IoT คืออะไร

 

Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น

 กล่าวได้ว่า Internet of Things นี้ได้แก่การเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรานึกออก เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้

 นอกจากนั้น Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลของคุณผ่านทางออนไลน์ หรือเราเรียกอีกอย่างว่า แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้งานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Internet of Things สมัยนี้ผู้ใช้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ คือ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม ทั้งยังสามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แถมยังมีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากหลาย ช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flash drive ต่างๆ

 

  แนวคิด Internet of Things

 เดิมมาจาก Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things ในปี 1999 ในขณะที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble (P&G)  เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้น Kevin ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น

 

 


วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พัชรินทร์ ยิ้มประสิทธิ์

Profiles

เพิ่มคำบรรยายภาพ

ชื่อ : น.ส.พัชรินทร์ ยิ้มประสิทธิ์ ชั้น ม.5/6 เลขที่ 46

ชื่อเล่น : มายเนม

เกิด : 10 มิถุนายน 2547

สีที่ชอบ : สีเเดง 

ตัวการ์ตูนที่ชอบ : มินเนี่ยน

ที่อยู่ : 54/2 หมู่ 11 ต.ท่ามะกา อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120

โรงเรียน ท่ามะกาวิทยาคม